จังหวัดนครพนม ประกอบพิธีมอบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา”

วันที่ 13 มีนาคม 2566 ที่ศาลาประชาคมยงใจยุทธ ศาลากลางจังหวัดนครพนม นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานประกอบพิธีมอบแบบลายผ้าพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” ให้แก่ นายอำเภอทั้ง 12 อำเภอ และตัวแทนช่างทอผ้าในพื้นที่จังหวัดนครพนม เพื่อนำไปมอบให้กับช่างทอผ้า เยาวชนคนรุ่นใหม่ และประชาชนชาวนครพนมนำไปทอผ้า ผลิตผ้าตามอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น โดยมีนายจิรศักดิ์ สีหามาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม คณะหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ร่วมพิธี

โดยเมื่อวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ทรงเสด็จทอดพระเนตรโครงการ จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทย และงานหัตถกรรมชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไทย ของแต่ละจังหวัด โดยมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และกลุ่มสมาชิก โครงการศิลปาชีพ ประเภทผ้าและหัตถกรรม เข้าร่วมจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์และมีคณะผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย ผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน ข้าราชการในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชน และกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เฝ้ารับเสด็จฯ ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ทรงพระราชทานแบบลายผ้า “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” ให้แก่ปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย, อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นของขวัญแก่ช่างทอผ้าทุกกลุ่มทุกเทคนิค เยาวชนคนรุ่นใหม่ และประชาชนคนไทยทุกคน เพื่อการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มพูนรายได้แก่พี่น้องประชาชน รวมถึงการสืบสาน ต่อยอดภูมิปัญญาและงานหัตถศิลป์พื้นถิ่น ให้ดำรงคงอยู่คู่แผ่นดินไทยอย่างยั่งยืน เนื่องในโอกาส ที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา โดย“ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” เป็นลายผ้าที่พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้าลวดลายโบราณจากทุกภูมิภาคของประเทศ แล้วนำมาออกแบบผสมผสานกับ “ลายดอกรัก” ที่สื่อถึงความรักและกำลังใจที่พระองค์ทรงสร้างสรรค์ขึ้น ประกอบด้วย 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 ผ้าลายพระราชทาน ผ้าลายดอกรักราชกัญญา ประเภทผ้าบาติก ประเภทที่ 2 ผ้าลายพระราชทาน ผ้าลายดอกรักราชกัญญา ประเภทผ้ามัดหมี่ ประเภทที่ 3 ผ้าลายพระราชทาน ผ้าลายดอกรักราชกัญญา ประเภทผ้ายก และผ้าบาติก ลายพระราชทาน ลายที่ 4 ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา โปรดเกล้าฯ ให้พัฒนา “ผ้าบาติกลายพระนามาภิไธยสิริกิติ์” ให้มีความร่วมสมัยและเป็นสากล

ทั้งนี้จังหวัดนครพนมได้ดำเนินงานโครงการ ผ้าไทยใส่ให้สนุก ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และตามมาตรการส่งเสริมสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย มีการประชาสัมพันธ์รณรงค์ เชิญชวนการแต่งกายด้วยผ้าไทยหรือผ้าพื้นเมืองไปยังทุกส่วนราชการ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้บังเกิดผลโดยพร้อมเพรียงกันทั้งจังหวัด ภายใต้คำขวัญ “ชาวนครพนมภูมิใจ สวมใส่ผ้าไทยทุกวัน” ทำให้เกิดกระแสการใช้และสวมใส่ผ้าไทยจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายในพื้นที่จังหวัดนคพนมจำนวน 307 กลุ่ม สมาชิกรวม 3,463 ราย มีรายได้จากการจำหน่ายผ้าและเครื่องแต่งกายเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้กรมการพัฒนาชุมชนยังได้มาดำเนินโครงการตามพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในพื้นที่จังหวัดนครพนม คือ โครงการสืบสานพระราชปณิธาน “นาหว้าโมเดล” ที่มีการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผ้าถิ่นไทย โดยผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทยระดับประเทศ มีการอนุรักษ์ลายผ้าโบราณและพัฒนามาตรฐาน 67 ลาย มีการออกแบบลวดลายสร้างสรรค์ให้เป็นสากล 30 ลาย โดยผู้เชี่ยวชาญจากทีมที่ปรึกษาโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก มีการเพิ่มมาตรฐานเส้นใย ฟื้นฟูการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ขยายพื้นที่ปลูกหม่อน 2 กลุ่ม พื้นที่รวม 5 ไร่ มีการเลี้ยงไหม 2 กลุ่ม รวมอาคารเลี้ยงไหม 5 หลัง และขยายพื้นที่ปลูกฝ้าย 2 งาน ทั้งมีการปลูกพืชไม้ให้สีเพื่อใช้สำหรับย้อมผ้าตามพื้นที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม รวมถึงมีการแปรรูป/บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมและทันสมัย มีการสร้างแบรนด์เพื่อการตลาด โดยมีโลโก้และแบรนด์ “นาหว้าโมเดล” ซึ่งเป็นตราสัญลักษ์พระราชทานฯ มีการจัดทำหนังสือนาหว้าโมเดลพร้อมตีพิมพ์ และมีการจำหน่ายสินค้าทั้งทางออฟไลน์และออนไลน์ โดยยอดจำหน่ายผ้าตั้งแต่เข้าร่วมโครงการฯ จนถึงปัจจุบัน (เมษายน 2565 ถึง กุมภาพันธ์ 2566) จำนวน 3,600,870 บาท ซึ่งแต่ละกลุ่มรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 และยังมีออเดอร์สั่งทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายกว่า 500 เมตร คิดเป็นเงินสั่งซื้อประมาณ 600,000 บาท รวมถึงจังหวัดนครพนม ได้มีการเร่งเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนนาหว้าโมเดล ให้เป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาภูมิปัญญาผ้าไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความเจริญอย่างยั่งยืน มีการเตรียมปรับภูมิทัศน์ในบริเวณชุมชนของกลุ่มนาหว้าโมเดล บริเวณที่ทำการกลุ่มนาหว้าโมเดล และศูนย์ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม อีกทั้งปรับปรุงถนนให้มีความสะดวกสำหรับการเดินทางผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานที่ชุมชน และส่งเสริมการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ปลูกผักสวนครัว ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และการจัดทำถังขยะลดโลกร้อนทั้งในระดับครัวเรือนและคุ้มบ้านในชุมชนของกลุ่มนาหว้าโมเดล บริเวณแหล่งเรียนรู้และที่ทำการกลุ่มนาหว้าโมเดล เตรียมออกแบบโครงสร้างศูนย์เรียนรู้ เพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างกับกรมการพัฒนาชุมชนต่อไป


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar