นครพนม สืบสานวัฒนธรรมวันออกพรรษารำบูชาพระธาตุพนม

วันที่ 21 ตุลาคม 2564 ที่บริเวณหน้าวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม นายชาธิป รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานนำคณะหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ ตลอดจนประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมกันสืบสานประเพณี วัฒนธรรมประกอบพิธีถวายเครื่องบูชาและรำบูชาพระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนครพนม ที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพศรัทธากราบไหว้มาอย่างยาวนาน ทั้งเป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระมหากัสสปะสร้างไว้ ตามความเชื่อพื้นถิ่น โดยเป็นพระธาตุที่มีเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและในลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง ที่เมื่อถึงเทศกาลสำคัญ เช่น เทศกาลออกพรรษา ประชาชนที่ให้ความเคารพจะเดินทางนำ ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องหอมต่างๆ มาถวายเป็นพุทธบูชา รวมถึงการรำ ด้วยเช่นเดียวกัน

โดยในเวลา 7.29 น. ทุกคนไปประกอบพิธีอัญเชิญเครื่องบูชา ที่ประกอบไปด้วย ผ้าไตร ขันหมากเบ็ง ดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการะอื่นๆ รวมถึงขบวนนางรำเดินทางจากริมฝั่งแม่น้ำโขงมายังบริเวณหน้าวัดพระธาตุพนม จากนั้นได้ร่วมกันประกอบพิธีทางศาสนาเพื่อถวายเครื่องบูชาทั้งหมดที่อัญเชิญมาแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและองค์พระธาตุพนม ก่อนที่นางรำจะร่วมกันรำบูชาโดยเริ่มจากการรำเพื่อกล่าวถึงตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับองค์พระธาตุพนม ซึ่งเป็นการนำเอาบทสวดสดุดีองค์พระธาตุพนมมาผสมผสานกับทำนองสรภัญญะและดนตรีมโหรี  จากนั้นเป็นการฟ้อนศรีโคตรบูรณ์ เพื่อระลึกถึงความเจริญทางด้านศิลปวัฒนธรรมของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ที่เป็นการผสมผสานระหว่างรำเซิ้งอีสานที่มีความสนุกสนามกับการฟ้อนรำผู้ไทยที่มีเอกลักษณ์ท่ารำ ยกสูง ก้มต่ำ รำกว้าง ตามมาด้วยการฟ้อน 8 ชนเผ่าของชาวนครพนม ที่ได้ส่งตัวแทนสาวงามงามมาร่วมชนเผ่าละ 2 คน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการในการเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด โดยลักษณะท่าทางการร่ายรำจะเป็นศิลปะร่วมสมัยส่วนการแต่งกายจะเป็นของแต่ละชนเผ่า  จากนั้นเป็นการรำซิ้งอีสานที่เป็ชุดสุดท้ายเป็นการรำในวันนึ้ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มาร่วมพิธีได้รำถวายเพื่อความเป็นสิริมงคลในวันออกพรรษา
 


image รูปภาพ
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar