อาการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ได้รับสิทธิ์เพิ่มการดูแล

      ครม.เห็นชอบในหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) (ฉบับที่ 4 ) ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายการจัดทำรายการยา และค่าธรรมเนียมแพทย์ ที่เป็นสิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่อาการป่วยไม่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤต และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ประกอบด้วย

• หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ

• หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง

• ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น

• เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง

• แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด

• อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย

ซึ่งการปรับปรุงรายการยาดังกล่าว จะช่วยลดปัญหาของการเบิกจ่ายยา เนื่องจากการใช้ชื่อทางการค้า จะทำให้ยาที่มีตัวยาสามัญชนิดเดียวกันแต่ต่างยี่ห้อหรือไม่อยู่ในบัญชีแนบท้าย จะไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นชื่อสามัญของยาแก้ปวด ลดไข้ แต่มีชื่อทางการค้าหลายชื่อ เช่น ยี่ห้อ SARA ยี่ห้อ PARA GPO หรือยี่ห้อ PARACAP

ส่วนค่าธรรมเนียมแพทย์ ในหมวดที่ 12 ค่าบริการวิชาชีพเป็นการปรับอัตราค่าบริการทางการแพทย์ (ค่าตรวจวินิจฉัยและทำหัตถการโดยแพทย์) เพื่อให้เป็นไปตามคู่มือแนวทางการกำหนดค่าธรรมเนียมการแพทย์ ปี 2563 ของแพทยสภา โดยปรับเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar