ความต่างของ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมกับ ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต

- พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการร่างแก้ไข ปพพ. มาตรา 1448 และมาตราที่เกี่ยวข้องใน ปพพ. เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลเพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้ตามกฎหมาย พร้อมมีสิทธิในการสมรสไม่ต่างจากคู่สมรสชายหญิง เช่น สิทธิในการหมั้นและสมรส สิทธิในการจัดการ ทรัพย์สินของคู่สมรส สิทธิในการเป็นทายาทโดยธรรม การรับบุตรบุญธรรม สิทธิในการใช้นามสกุล สิทธิในการเซ็นยินยอมในการรักษาพยาบาล สิทธิในมรดก เป็นต้น

- พ.ร.บ. คู่ชีวิต หรือพระราชบัญญัติคู่ชีวิต เป็นร่างกฎหมายแยก ที่ออกมาเพื่อรับรองสิทธิบุคคลเพศเดียวกันให้สามารถจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ ทั้งนี้ คู่ชีวิตมีสิทธิบางประการเหมือนกับคู่สมรสชาย - หญิง เช่น สิทธิการรับบุตรบุญธรรม การรับมรดก แต่สถานะทางกฎหมาย จะเป็น “คู่ชีวิต” ซึ่งส่งผลให้อาจไม่ได้รับสิทธิบางประการเทียบเท่าคู่สมรส

นอกจากนี้ พรบ. สมรสเท่าเทียมไม่กระทบชาวมุสลิม โดย พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะผู้เสนอร่าง ได้ชี้แจงว่า ใน 3 จังหวัดมีการใช้กฎหมายชะรีอะห์ หรือกฎหมายอิสลาม (Personal Law) ที่ว่าด้วยครอบครัวและมรดกเป็นเฉพาะอยู่แล้ว ดังนั้น ยืนยันว่าร่างกฎหมายนี้จะไม่กระทบกับชาวมุสลิม สำหรับพื้นที่ชายแดนใต้ในกรณีที่โจทก์และจำเลยที่เป็นมุสลิมจะต้องใช้กฎหมายอิสลาม จะใช้กฎหมายแพ่งไม่ได้ แต่ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้เป็นชาวมุสลิม ก็ต้องใช้กฎหมาย ของแผ่นดินซึ่งกฎหมายอิสลามจะใช้ใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี, นราธิวาส, ยะลา และสงขลา


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar